Healthy Food Healthy School : จัดการอาหารที่ดี เพื่อสุขภาพของพวกเรากันนะ ครู คลังสื่อ นักเรียน ผู้ปกครอง วีดีโอ 08 ก.พ. 2024 812 share tweet share https://youtu.be/MnNLm0Fh-Dw ชื่อสื่อ : Healthy Food Healthy School : จัดการอาหารที่ดี เพื่อสุขภาพของพวกเรากันนะรายละเอียด :จุดประสงค์การเรียนรู้1.นักเรียนสามารถอธิบายการทํางาน คาดการณ์และวางแผน โดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะและอัลกอริทึมได้ (K)2.นักเรียนสามารถใช้เหตุผลเชิงตรรกะ และอัลกอริทึมในการแก้ปัญหาอย่างง่ายได้ (P)3.นักเรียนเชื่อมโยงกระบวนการเล่นบอร์ดเกมกับแนวคิดเชิงคํานวณ และสามารถบูรณาการแก้ปัญหากับความรู้เรื่องอาหารสุขภาพจากผักและผลไม้ โดยใช้แนวคิดเชิงคํานวณในชีวิตประจําวันได้ (P)4.นักเรียนมีความพึงพอใจบอร์ดเกม “Healthy Food Healthy School : จัดการอาหารที่ดี เพื่อสุขภาพของพวกเรากันนะ” ในระดับดี (A)แนวคิดในการผลิตสื่อการเรียนการสอนปัญหาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนต่ํา เป็นปัญหาสําคัญของการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่มีเป้าหมายในการพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3Rs + 8Cs + 2Ls (วิจารณ์ พานิช, 2556: 16) ซึ่งหากทักษะการบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนยังคงต่ําอยู่ การพัฒนาให้การศึกษาไทยไปสู่เป้าหมายดังกล่าวก็จะเป็นเรื่องยากจากสภาพปัญหาดังกล่าวส่งผลถึงกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่จะต้องนําไปใช้ในทุกรายวิชา ทุกสถานการณ์และในชีวิตจริงของนักเรียน ซึ่งกระบวนการสอนหลักการของแนวคิดเชิงคํานวณที่เป็นใจความสําคัญของรายวิชาวิทยาคํานวณ โดยแนวคิดเชิงคํานวณคือกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ได้แนวทางการหาคําตอบอย่างเป็นขั้นตอนที่สามารถนําไปปฏิบัติได้โดยบุคคลหรือคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้องและแม่นยํา ซึ่งเรียกว่า อัลกอริทึม ทักษะการใช้แนวคิดเชิงคํานวณจึงสําคัญต่อการแก้ปัญหา ช่วยให้สามารถสื่อสารแนวคิดกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยพัฒนาพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์โดยแนวคิดเชิงคํานวณมีองค์ประกอบที่สําคัญ 4 ส่วน คือ การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย(decomposition) การพิจารณารูปแบบ (pattern recognition) การคิดเชิงนามธรรม (abstraction)การออกแบบอัลกอริทีม (algorithm)แต่เนื่องจากการจัดการเรียนรู้เรื่องแนวคิดเชิงคํานวณในรูปแบบปกติ คือแบบฝึกหัด หนังสือเรียนและใบกิจกรรม ผลปรากฏว่านักเรียนเกิดความไม่เข้าใจความหมายและไม่สามารถอธิบายขั้นตอนเหล่านั้นเมื่อพบกับปัญหาอื่นได้ เมื่อสอบถามนักเรียนจึงพบว่านักเรียนไม่เกิดภาพความเข้าใจที่เป็นรูปธรรมและการบริโภคอาหารของนักเรียนในปัจจุบันที่นักเรียนขาดความรู้ ความเข้าใจถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผักและผลไม้ให้เพียงพอ โดยการสังเกตจากการบริโภคของนักเรียนในโรงอาหารของโรงเรียนในมื้อกลางวัน และเมื่อดําเนินการสอบถามนักเรียนจึงพบว่านักเรียนร้อยละ 70 มีความรู้ในพื้นฐานของหลักโภชนาการแต่ขาดความตระหนักถึงคุณค่า เลือกที่จะบริโภคในสิ่งที่ตนเองชอบและเลี่ยงในสิ่งที่ตนเองมีอคติด้วยสภาพปัญหาและเหตุผลข้างต้น ข้าพเจ้าจึงสืบค้นรูปแบบการเรียนรู้ที่ทําให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ สร้างความรู้และเกิดทักษะด้วยตนเอง ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่จะเข้าถึงนักเรียนได้ดีและเกิดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบที่เร้าความสนใจ สนุกและไม่น่าเบื่อก็คือการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐาน(Game-Based Learning : GBL) ที่จะใช้เกมเป็นแกนกลางในการเรียนรู้ โดยเกมมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนได้ดังนี้ 1.เกมเป็นสื่อที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคล่องและความสามารถรอบตัวสูง ช่วยให้ผู้เล่นมีผลสัมฤทธิ์ได้อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านพุทธิศึกษา และจริยศึกษา และความสามารถด้านการวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า 2.เกมจะช่วยให้ผู้เล่นพัฒนาพลังความคิดสร้างสรรค์ได้มาก 3.เกมส่งเสริมความสามารถใน การตัดสินใจ การสื่อสาร ความสัมพันธ์กับผู้อื่น และเจตคติทางด้านความกระตือรือร้นที่จะฟังความเห็นผู้อื่น ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหา 4.ข้อได้เปรียบสูงสุดของวิธีสอนโดยใช้เกม คือ ความสนุก ทําให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาที่มีผลการเรียนไม่ค่อยดี 5.เกมส่วนใหญ่มักจะใช้พื้นฐานทางวิชาการหลาย ๆ ด้านซึ่งทําให้ผู้เล่นต้องรู้จักบูรณาการความรู้และทักษะหลาย ๆ ด้านเข้าด้วยกัน(พระมหาธราบุญคูจินดา : http://www.pty.ac.th/ptyweb2009/ download/JeopardygameReseach.doc) จากการศึกษาหลักการของแนวคิดเชิงคํานวณ ข้าพเจ้านํามาออกแบบและพัฒนาเป็นบอร์ดเกมหรือเกมกระดาน ชื่อ “Healthy Food Healthy School : จัดการอาหารที่ดี เพื่อสุขภาพของพวกเรากันนะ” ที่มีกติกา รูปแบบการเล่นเกมที่ต้องใช้หลักของแนวคิดเชิงคํานวณในการดําเนินเกม เพื่อให้นวัตกรรมทําให้นักเรียนเกิดทักษะแนวคิดเชิงคํานวณไปพร้อมกับความสนุกจากการเล่นเกม เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและนําไปสู่ประสิทธิผลในการสร้างทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาของนักเรียนตลอดจนเสริมความรู้ สร้างความตระหนักให้นักเรียนเห็นคุณประโยชน์ของการบริโภคผักและผลไม้เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองต่อไประดับชั้น : มัธยมศึกษาตอนต้นสาระการเรียนรู้ : วิทยาศาตร์และเทคโนโลยีประเภทสื่อ : สื่อสิ่งประดิษฐ์ผู้พัฒนาสื่อ : นายณัฐพล เอี่ยมเสือ ดาวน์โหลดคู่มือ คลิกเพื่อให้คะแนนโพสต์นี้! [Total: 0 Average: 0] tags: มัธยมศึกษาตอนต้นวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีสื่อสิ่งประดิษฐ์ เรื่องที่เกี่ยวข้อง ข่าวสารกิจกรรม อิ่มนี้เพื่อน้อง เชิญชวน น้อง ๆ เข้าร่วม กิจกรรมการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ (Logo) โครงการ “อิ่มนี้เพื่อน้อง” ครู คลังสื่อ นักเรียน ผู้ปกครอง วีดีโอ บัตรคำชวนรู้ บิงโกพาสนุก ครู คลังสื่อ ผู้ปกครอง วีดีโอ Healthy Food Sudoku ครู คลังสื่อ นักเรียน ผู้ปกครอง วีดีโอ บอร์ดเกม “Happy Healthy Happy Life สุขภาพดีชีวีมีสุข” ครู คลังสื่อ นักเรียน ผู้ปกครอง วีดีโอ การ์ดเกมผักผลไม้ 5 สี ครู คลังสื่อ นักเรียน ผู้ปกครอง วีดีโอ เกมการศึกษา “กินอะไรดีนะ”