วันจันทร์, 20 พฤษภาคม 2567

Healthy Food Healthy School : จัดการอาหารที่ดี เพื่อสุขภาพของพวกเรากันนะ

https://youtu.be/MnNLm0Fh-Dw

ชื่อสื่อ : Healthy Food Healthy School : จัดการอาหารที่ดี เพื่อสุขภาพของพวกเรากันนะ
รายละเอียด :
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.นักเรียนสามารถอธิบายการทํางาน คาดการณ์และวางแผน โดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะและอัลกอริทึมได้ (K)
2.นักเรียนสามารถใช้เหตุผลเชิงตรรกะ และอัลกอริทึมในการแก้ปัญหาอย่างง่ายได้ (P)
3.นักเรียนเชื่อมโยงกระบวนการเล่นบอร์ดเกมกับแนวคิดเชิงคํานวณ และสามารถบูรณาการแก้ปัญหากับความรู้เรื่องอาหารสุขภาพจากผักและผลไม้ โดยใช้แนวคิดเชิงคํานวณในชีวิตประจําวันได้ (P)
4.นักเรียนมีความพึงพอใจบอร์ดเกม “Healthy Food Healthy School : จัดการอาหารที่ดี เพื่อสุขภาพของพวกเรากันนะ” ในระดับดี (A)

แนวคิดในการผลิตสื่อการเรียนการสอน
ปัญหาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนต่ํา เป็นปัญหาสําคัญของการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่มีเป้าหมายในการพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3Rs + 8Cs + 2Ls (วิจารณ์ พานิช, 2556: 16) ซึ่งหากทักษะการบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนยังคงต่ําอยู่ การพัฒนาให้การศึกษาไทยไปสู่เป้าหมายดังกล่าวก็จะเป็นเรื่องยาก

จากสภาพปัญหาดังกล่าวส่งผลถึงกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่จะต้องนําไปใช้ในทุกรายวิชา ทุกสถานการณ์และในชีวิตจริงของนักเรียน ซึ่งกระบวนการสอนหลักการของแนวคิดเชิงคํานวณที่เป็นใจความสําคัญของรายวิชาวิทยาคํานวณ โดยแนวคิดเชิงคํานวณคือกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ได้แนวทางการหาคําตอบอย่างเป็นขั้นตอนที่สามารถนําไปปฏิบัติได้โดยบุคคลหรือคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้องและแม่นยํา ซึ่งเรียกว่า อัลกอริทึม ทักษะการใช้แนวคิดเชิงคํานวณจึงสําคัญต่อการแก้ปัญหา ช่วยให้สามารถสื่อสารแนวคิดกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยพัฒนาพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์โดยแนวคิดเชิงคํานวณมีองค์ประกอบที่สําคัญ 4 ส่วน คือ การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย(decomposition) การพิจารณารูปแบบ (pattern recognition) การคิดเชิงนามธรรม (abstraction)
การออกแบบอัลกอริทีม (algorithm)

แต่เนื่องจากการจัดการเรียนรู้เรื่องแนวคิดเชิงคํานวณในรูปแบบปกติ คือแบบฝึกหัด หนังสือเรียนและใบกิจกรรม ผลปรากฏว่านักเรียนเกิดความไม่เข้าใจความหมายและไม่สามารถอธิบายขั้นตอนเหล่านั้นเมื่อพบกับปัญหาอื่นได้ เมื่อสอบถามนักเรียนจึงพบว่านักเรียนไม่เกิดภาพความเข้าใจที่เป็นรูปธรรม

และการบริโภคอาหารของนักเรียนในปัจจุบันที่นักเรียนขาดความรู้ ความเข้าใจถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผักและผลไม้ให้เพียงพอ โดยการสังเกตจากการบริโภคของนักเรียนในโรงอาหารของโรงเรียนในมื้อกลางวัน และเมื่อดําเนินการสอบถามนักเรียนจึงพบว่านักเรียนร้อยละ 70 มีความรู้ในพื้นฐานของหลักโภชนาการแต่ขาดความตระหนักถึงคุณค่า เลือกที่จะบริโภคในสิ่งที่ตนเองชอบและเลี่ยงในสิ่งที่ตนเองมีอคติ

ด้วยสภาพปัญหาและเหตุผลข้างต้น ข้าพเจ้าจึงสืบค้นรูปแบบการเรียนรู้ที่ทําให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ สร้างความรู้และเกิดทักษะด้วยตนเอง ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่จะเข้าถึงนักเรียนได้ดีและเกิดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบที่เร้าความสนใจ สนุกและไม่น่าเบื่อก็คือการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐาน(Game-Based Learning : GBL) ที่จะใช้เกมเป็นแกนกลางในการเรียนรู้ โดยเกมมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนได้ดังนี้
1.เกมเป็นสื่อที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคล่องและความสามารถรอบตัวสูง ช่วยให้ผู้เล่นมีผลสัมฤทธิ์ได้อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านพุทธิศึกษา และจริยศึกษา และความสามารถด้านการวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า
2.เกมจะช่วยให้ผู้เล่นพัฒนาพลังความคิดสร้างสรรค์ได้มาก
3.เกมส่งเสริมความสามารถใน การตัดสินใจ การสื่อสาร ความสัมพันธ์กับผู้อื่น และเจตคติทางด้านความกระตือรือร้นที่จะฟังความเห็นผู้อื่น ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหา
4.ข้อได้เปรียบสูงสุดของวิธีสอนโดยใช้เกม คือ ความสนุก ทําให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาที่มีผลการเรียนไม่ค่อยดี
5.เกมส่วนใหญ่มักจะใช้
พื้นฐานทางวิชาการหลาย ๆ ด้านซึ่งทําให้ผู้เล่นต้องรู้จักบูรณาการความรู้และทักษะหลาย ๆ ด้านเข้าด้วยกัน
(พระมหาธราบุญคูจินดา : http://www.pty.ac.th/ptyweb2009/ download/JeopardygameReseach.doc)
จากการศึกษาหลักการของแนวคิดเชิงคํานวณ ข้าพเจ้านํามาออกแบบและพัฒนาเป็นบอร์ดเกมหรือเกมกระดาน ชื่อ “Healthy Food Healthy School : จัดการอาหารที่ดี เพื่อสุขภาพของพวกเรากันนะ” ที่มีกติกา รูปแบบการเล่นเกมที่ต้องใช้หลักของแนวคิดเชิงคํานวณในการดําเนินเกม เพื่อให้นวัตกรรมทําให้นักเรียนเกิดทักษะแนวคิดเชิงคํานวณไปพร้อมกับความสนุกจากการเล่นเกม เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและนําไปสู่ประสิทธิผลในการสร้างทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาของนักเรียนตลอดจนเสริมความรู้ สร้างความตระหนักให้นักเรียนเห็นคุณประโยชน์ของการบริโภคผักและผลไม้เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองต่อไป

ระดับชั้น : มัธยมศึกษาตอนต้น
สาระการเรียนรู้ : วิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
ประเภทสื่อ : สื่อสิ่งประดิษฐ์
ผู้พัฒนาสื่อ : นายณัฐพล เอี่ยมเสือ
คลิกเพื่อให้คะแนนโพสต์นี้!
[Total: 0 Average: 0]